3,583 view

            

               แผนเผชิญเหตุกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในสิงคโปร์       

 

             

1.ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวของสิงคโปร์

1.1 สภาพภูมิศาสตร์

      สิงคโปร์มีสภาพเป็นเกาะ มีเนื้อที่ประมาณ 697 ตารางกิโลเมตร ยาว 41.8 กิโลเมตร กว้าง 22.5 กิโลเมตร มีชายฝั่งยาว 134.4 กิโลเมตร และมีเกาะเล็กๆ 63 เกาะ โดยมีเกาะหลักที่สำคัญ คือ ปูเลา อูจง (Pulau Ujong) เกาะจูรง (Jurong Island) ) ปูเลา เตกง (Pulau Tekong) ปูเลา อูบิน (Pulau Ubin) และเกาะเซ็นโตซา (Sentosa Island)

      สิงคโปร์เป็นเกาะที่ตั้งอยู่บริเวณปลายสุดของคาบสมุทรมลายู แยกจากแผ่นดินใหญ่ด้วยช่องแคบยะโฮร์ (Johor Strait) ซึ่งเป็นแนวชายแดนระหว่างสิงคโปร์กับมาเลเซีย และตั้งอยู่ตอนเหนือของหมู่เกาะเรียลของอินโดนีเซีย  ทั้งนี้ จุดผ่านแดนทางบกระหว่างสิงคโปร์-มาเลเซีย คือ Woodlands Checkpoint และ Taus Checkpoint

1.2 สภาพภูมิอากาศ

     สิงคโปร์ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี โดยจะมีฝนตกชุกในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน

 1.3 ด้านการคมนาคม

     ท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือเคปเปล (Keppel Habour) และท่าเรือสิงคโปร์โรดส์ (The Roads) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง / ท่าเรือในไทยที่สามารถรองรับเรือจากสิงคโปร์ ได้แก่ ท่าเรือสัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ท่าเรือของฐานทัพเรือพังงา ทั้งนี้ ระยะเวลาเดินทางโดยทางเรือจากท่าเรือสัตหีบถึงท่าเรือสิงคโปร์ 2 วัน 1 คืน

      ท่าอากาศยานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ท่าอากาศยาน Changi International Airport (2) ท่าอากาศยาน Paya Lebar Air Base ด้านกิจการทหาร (3) ท่าอากาศยาน Seletar  ให้บริการหลักสำหรับ Chartered Flight และ Private Aircraft   ระยะเวลาบินระหว่างสิงคโปร์ไปไทย ประมาณ 2 ชั่วโมง

      เส้นทางถนนจากสิงคโปร์ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ ระยะทาง 354  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง 20 นาที และจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ถึงหาดใหญ่ ระยะทาง 534 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง 40 นาที

2.ข้อมูลคนไทยในสิงคโปร์

  -ปัจจุบัน ตามตัวเลขประมาณการ มีคนไทยในสิงคโปร์จำนวน 28,000 คน โดยแยก ดังนี้

    (1) กลุ่มแรงงานไทย ประมาณ 20,000 คน

    (2) กลุ่มวิชาชีพที่ทำงานในบริษัท ธุรกิจต่าง ๆ

    (3) กลุ่มนักเรียนไทย 

    (4) พระสงฆ์/ พระธรรมทุต จำนวน 35 รูป

     (5) กลุ่มคนไทยที่มีครอบครัวเป็นชาวสิงคโปร์หรือต่างชาติ

     (6) กลุ่มบุคคลที่เข้ามาลักลอบทำงานโดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว

3.หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ

   (1) The Immigration and Checkpoints Authority (ICA)

   (2) Civil Aviation Authority of Singapore (CAAS)

   (3) Singapore Police Force

   (4) Ministry of Foreign Affairs

   (5) Ministry of Health

   (6) Ministry of Manpower

4.จุดนัดหมายรวมตัวของคนไทย

  (1) ที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตฯ ถนน Orchard ขนาดพื้นที่ 11 ไร่

  (2) วัดอานันทเมตตาราม ตั้งอยู่เลขที่ 50-B ถนน Bukit Mereh โทรศัพท์ (65) 62724240 หรือวัดไทยอื่นๆ

  (3) สถานที่อื่น ตามแต่ที่จะกำหนด

  (4) การขนส่ง/การจัดยานพาหนะในการรับคนมารวมตัวหรือขนส่งไปยังท่าอากาศยาน/ท่าเรือ

5.การกำหนดระดับความเสี่ยงของสถานการณ์

   5.1 ปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์ กำหนดระดับการเตือนภัยของดรคระบาด 4 ระดับ คือ (1) สีเขียว/Green มีโรคระบาดรุนแรงแต่ยังไม่มีการแพร่กระจายได้ง่าย จากคนสู่คน (2) สีเหลือง/Yellow โรคระบาดแพร่กระจายแต่มีจำนวนผู้ติดเชื้อไม่มาก/เป็นบางกลุ่ม และยังควบคุมได้ (3) ระดับสีส้ม/Orange โรคมีการระบาดได้ง่ายได้จากคนสู่คน แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายในวงกว้างและยังควบคุมได้ (4) สีแดง/Red มีการแพร่กระจายของโรคระบาดอย่างกว้างขวาง จนต้องปิดโรงเรียน/สถานที่ต่างๆ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก  

   5.2 ปัจจุบัน สิงคโปร์ ประกาศระดับ สีส้ม (เริ่ม 7 กุมภาพันธ์ 2563)

6.การลงทะเบียนคนไทยที่ประสงค์เดินทางกลับ

    6.1 การเปิดลงทะเบียนเมื่อสถานการณ์ถึงระดับ

    6.2 การจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มคน ได้แก่ เด็ก หรือครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ผู้สูงวัย หรือมีโรคประจำตัว/เจ็บป่วย สตรี 

   7.แผนการอพยพ และเส้นทาง  ตามลำดับ ดังนี้

       7.1 การอพยพโดยทางเครื่องบิน เป็นวิธีและเครื่องมือในการอพยพที่รวดเร็วที่สุด แต่มีข้อจำกัดหากมีจำนวนคนที่จะอพยพจำนวนมาก แบ่งออก เป็น

             (1) เครื่องบินเอกชนแบบ Chartered Flight โดยสายการบินที่มีเส้นทางบินระหว่างสิงคโปร์-ไทย อยู่แล้ว อาทิ  การบินไทย บางกอกแอร์เวย์ แอร์เอเชีย สิงคโปร์แอร์ไลน์ ซิลค์แอร์

                   ข้อมูลเครื่องบิน ตัวอย่าง การบินไทย Airbus A380 รองรับผู้โดยสารได้ 507 คน , Boeing 747 รับได้ 375 คน, Boeing 777 รับได้ 364 คน, Airbus A350 รับได้ 321 คน, Airbus A330 รับได้ 299 คน, Airbus A 320 รับได้ 168 คน   Scoot Airlines Boeing 777, Airbus A320

             (2) เครื่องบินของกองทัพไทย เครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ที่สุดคือ  C130 รับผู้โดยสารได้จำนวน 100 คน

          7.2 การอพยพโดยทางเรือ เป็นวิธีการที่สามารถขนส่งอพยพคนได้จำนวนมาก แต่อาจต้องใช้เวลาในการเตรียมการและการเดินทางถึงที่หมายในประเทศไทย เช่น ท่าเรือสัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต แบ่งออกได้ ดังนี้

                (1) การใช้เรือของกองทัพเรือไทย ปกติใช้เวลาเดินเรือถึงไทย 3 วัน

                (2) การเช่าเรือเอกชน เช่น เรือสำราญ ตัวอย่าง Star Cruise เรือประเภท Super Star Aquarius ซึ่งเป็นเรือขนาดกลาง รองรับผู้โดยสารได้ 1,500 คน เรือแบบ Star Pisces รองรับผู้โดยสารได้ 1,027 คน

          7.3 การอพยพโดยทางรถยนต์

                (1) การเช่ารถบัสหรือรถโค้ช ปรับอากาศ

                (2) เส้นทาง สิงคโปร์ - กรุงกัวลาลัมเปร์ (ระยะทาง 359 กิโลเมตร)  และกรุงกัวลาลัวเปอร์ – หาดใหญ่ จุดผ่านแดนด่านสะเดา (ระยะทาง 539 กิโลเมตร)   รวมระยะทาง 898 กิโลเมตร