7,834 view

แจ้งเกิด (สูติบัตร)

สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์สามารถออกสูติบัตรให้แก่เด็กสัญชาติไทยที่เกิดในประเทศสิงคโปร์เท่านั้น

หลักเกณฑ์การได้สัญชาติไทยของเด็กที่เกิดในต่างประเทศ มีดังนี้

  สัญชาติบิดา สัญชาติมารดา สัญชาติเด็ก

บิดามารดา

จดทะเบียนสมรส

ไทย ไทย ไทย
อื่น ๆ ไทย ไทย
ไทย อื่น ๆ ไทย

บิดามารดา

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ไทย ไทย ไทย
ไทย อื่น ๆ *ต้องพิสูจน์ความเป็นบิดาก่อน
อื่น ๆ ทย ไทย

 

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อของผู้ที่มีสัญชาติไทย (พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505)

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คลายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
  2. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  3. ต้องไม่มีเจตนาทุจริต
  4. มีความหมายในภาษาไทยที่สามารถรู้ได้ว่าเป็นชายหรือหญิง และชื่อหนึ่งไม่เกิน 3 พยางค์
  5. ผู้ได้รับหรือเคยรับพระราชทานบรรดาศักดิ์ และยังอยู่ในบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอดถอน สามารถใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้

ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบ

  • บิดามารดาจดทะเบียนสมรส

                        (1) บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลบิดาและมารดา การออกสูติบัตรไทย จะออกให้ตรงตามนามสกุลของบิดาหรือมารดาที่ระบุในสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์

                        (2) หากบิดาและมารดาประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลของบุคคลอื่นที่มิใช่นามสกุลของบิดาหรือมารดา เจ้าหน้าที่กงสุลไม่มีอำนาจดำเนินการ เพราะการอนุญาตดังกล่าวเป็นอำนาจของนายทะเบียนท้องที่ที่เจ้าของนามสกุลมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

  • บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส

                  (1) เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียว และมีสิทธิใช้นามสกุลของมารดา มารดาแจ้งเกิดโดยบุตรใช้นามสกุลของตนเอง

                  (2) หากมารดาประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และบิดาเป็นผู้แจ้งเกิดกับทางการท้องถิ่นสิงคโปร์ โดยให้ใช้นามสกุลของบิดา หรือบิดายินยอมให้บุตรนอกสมรสใช้นามสกุลของตน สามารถทำได้โดยมีสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ที่มีชื่อบิดามาแสดงเป็นหลักฐานการยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยบิดาจะต้องกรอกฟอร์มหนังสืออนุญาตให้ใช้นามสกุลของบิดา คลิกที่นี่ และมารดาต้องกรอกบันทึกสอบปากคำกรณีบุตรนอกสมรสใช้นามสกุลของบิดา คลิกที่นี่

                  (3) หากมารดาไม่ยินยอมให้บุตรใช้นามสกุลบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้บิดาจะยินยอมเจ้าหน้าที่กงสุลไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากอำนาจการปกครองบุตรอยู่กับมารดา

                  (4) หากบิดาเป็นบุคคลสัญชาติไทยและมารดาเป็นบุคคลต่างชาติ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรมีสิทธิ์ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 แต่จะต้องทำเรื่องพิสูจน์ความเป็นบิดาก่อนขอจดทะเบียนคนเกิดให้บุตร (ดูรายละเอียดที่ เอกสารเพิ่มเติมของบิดาสัญชาติไทยกับมารดาซึ่งเป็นคนสัญชาติอื่น กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส)

  • หากบิดาหรือมารดาสัญชาติไทยที่ต้องการขอสูติบัตรไทยให้บุตร มีการถือสัญชาติอื่นด้วยหรือเป็นบุคคล 2 สัญชาติ และมีการระบุสัญชาติของบิดาหรือมารดาในสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์เป็นสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย จะต้องมาให้ปากคำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กงสุล และทำบันทึกสอบปากคำยืนยันการเป็นบุคคลสัญชาติไทยพร้อมหลักฐานประกอบของการมี 2 สัญชาติด้วย
  • ในกรณีที่มารดามีสัญชาติไทยและบิดาต่างชาติ ประสงค์ขอจดทะเบียนเกิดให้บุตรที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) กรุณาดาวน์โหลดแบบฟอร์มบันทึกสอบปากคำกรณีขอให้ออกสูติบัตรให้กับบุตร ซึ่งได้สัญชาติไทยย้อนหลัง ตามมาตรา 10 พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 คลิกที่นี่ โดยมารดาที่มีสัญชาติไทยจะต้องกรอกรายละเอียดในบันทึกสอบปากคำให้เรียบร้อยก่อน (ในกรณีที่บิดาเป็นคนสัญชาติสิงคโปร์ หากบรรลุนิติภาวะแล้ว จะไม่สามารถสามารถถือ 2 สัญชาติได้ หากผู้ร้องต้องการขอสัญชาติไทยให้บุตร จะต้องทำเรื่องสละสัญชาติสิงคโปร์ โปรดศึกษาข้อมูลการถือสัญชาติไทย-สิงคโปร์ ก่อนดำเนินการแจ้งขอสูติบัตรไทย)  
  • หากมีข้อสอบถามเพิ่มเติมในกรณีขอสูติบัตรสำหรับบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือเกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 โปรดติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ทางอีเมลด้านล่าง ก่อนดำเนินการแจ้งขอสูติบัตรไทย
  • สำหรับเด็กผู้ชาย จะต้องไปดำเนินการเข้ารับการเกณฑ์ทหารที่ประเทศไทย โดยเมื่ออายุ 16 ปี จะต้องรับหมายเกณฑ์ทหาร อายุ 20 ปี จะต้องไปรายงานตัวกับสัสดีที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ และเมื่ออายุครบ 21 ปี จะต้องไปเข้ารับคัดเลือกการเกณฑ์ทหาร มิเช่นนั้นจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตั้งชื่อและการใช้นามสกุลของเด็ก (อ่านก่อนเริ่มทำคำร้อง)

  • สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์จะออกสูติบัตรไทยโดยระบุชื่อนามสกุลตามสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ โดยต้องเป็นไปตามกฎหมายไทยด้วย ชื่อบุตรในสูติบัตรท้องถิ่นซึ่งออกโดยหน่วยงานท้องถิ่นของสิงคโปร์ จะต้องตรงกับชื่อบุตรที่แจ้งเกิดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายไทย ดังนั้น หากผู้ร้องต้องการขอสัญชาติไทยให้บุตร จึงควรตั้งชื่อเด็กให้สอดคล้องกับกฎหมายไทยตั้งแต่ต้น
  • ตามกฎหมายไทย เด็กจะต้องใช้นามสกุลตามบิดาหรือมารดาเท่านั้น โดยในสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ บุตรจะต้องนามสกุลตรงกับบิดาหรือมารดาเท่านั้น ไม่สามารถตั้งนามสกุลใหม่หรือนำชื่อสกุลของบิดามารดามารวมกันได้
  • หากบิดาเป็นบุคคลที่ไม่มีนามสกุล จะต้องใช้นามสกุลของมารดาในการออกสูติบัตร พร้อมกับให้ปากคำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กงสุล และทำบันทึกสอบปากคำยืนยันใช้นามสกุลมารดา แต่ถ้าบิดาไม่ยินยอมที่ให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา เจ้าหน้าที่กงสุลจะไม่รับพิจารณาคำร้องฯและไม่สามารถดำเนินการออกสูติบัตรได้

หมายเหตุ : ในกรณีนี้จะทำให้บุตรมีชื่อ-สกุลในเอกสารทางการสิงคโปร์และสูติบัตรไทยไม่ตรงกัน โปรดทำความเข้าใจก่อนดำเนินการขอสัญชาติไทยให้บุตร

  • หากสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ของบุตรระบุนามสกุลบุตรและบิดา ไม่ตรงกัน หรือตั้งนามสกุลใหม่ หรือนำนามสกุลของบรรพบุรุษคนอื่นๆที่ไม่ตรงกับบิดามาตั้ง เจ้าหน้าที่กงสุลจะไม่รับพิจารณาคำร้องฯและไม่สามารถดำเนินการออกสูติบัตรได้
  • ชื่อ-นามสกุลเด็กในสูติบัตรไทย ประกอบด้วย

        (1) ชื่อตัว หมายถึง ชื่อประจำตัวบุคคล (First name)

        (2) ชื่อรอง หมายถึง ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว (Middle name)

        (3) นามสกุล หมายถึง ชื่อประจำวงศ์ตระกูล (Surname หรือ Family name)

การระบุชื่อภาษาไทยในสูติบัตรไทย จะแบ่งออกเป็น 3 วรรคคือ ชื่อตัว ชื่อรอง และนามสกุล ชื่อตัวหรือชื่อรองที่มีวรรคระหว่างชื่อในสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ ถ้านำมาเขียนในสูติบัตรไทย ตามกฎหมายไทยจะต้องเขียนติดกันเท่านั้น หากชื่อ-ชื่อสกุลในสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ระบุมากกว่า 3 วรรค การระบุลงในสูติบัตรไทยในช่องภาษาไทย จะต้องเขียนติดกัน  
(** ชื่อภาษาอังกฤษในสูติบัตรสิงคโปร์ระบุว่า
ชื่อตัว Xiao Shen ชื่อรอง Xiao Ju นามสกุล Lee
การระบุชื่อนามสกุลในสูติบัตรไทย จะเป็น
ชื่อตัว เซียวเฉิน(ติดกัน) -วรรค- ชื่อรอง เซียวจู(ติดกัน) -วรรค- นามสกุล ลี เป็นต้น แต่ในภาษาอังกฤษก็จะระบุตามสูติบัตรท้องถิ่นเช่นเดิม **)

  • ชื่อรองไม่ใช่องค์ประกอบบังคับในการแจ้งเกิด จะมีหรือไม่มีก็ได้ เราจะออกสูติบัตรระบุชื่อนามสกุลตามสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์
  • กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองได้ หากตรงตามที่สูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ออกให้
  • การสะกดคำภาษาไทยชื่อบุตรในสูติบัตรไทยที่จะออกโดยสถานเอกอัครราชทูตจะต้องตรงกับภาษาอังกฤษที่อยู่ในสูติบัตรท้องถิ่นสิงคโปร์ ต้องสะกดให้ออกเสียงเหมือนกันหรือใกล้เคียงที่สุดตามหลักภาษานั้น ๆ    

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

  1. กรอกคำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด ตามไฟล์แนบด้านล่าง หรือคลิกที่นี่
  2. เอกสารผู้เยาว์
    1. สูติบัตรสิงคโปร์
    2. หนังสือเดินทางของผู้เยาว์ที่ออกจากประเทศอื่น (ถ้ามี)
  3. เอกสารมารดา
    1. หนังสือเดินทาง
    2. บัตรประชาชนไทย (หากเป็นบุคคลสัญชาติไทย)
    3. ทะเบียนบ้าน (หากเป็นบุคคลสัญชาติไทย สำเนาทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะนำเด็กเพิ่มชื่อเข้า [หน้าแรกระบุเลขที่บ้าน และหน้าที่ระบุชื่อมารดา])
    4. บัตรแสดงถิ่นที่อยู่ในสิงค์โปร์ เช่น บัตรพำนักในสิงค์โปร์ บัตรทำงาน ฯลฯ
    5. ทะเบียนสมรส (หากมี)
  4. เอกสารบิดา
    1. หนังสือเดินทาง
    2. บัตรประชาชนไทย (หากเป็นบุคคลสัญชาติไทย)
    3. ทะเบียนบ้าน (หากเป็นบุคคลสัญชาติไทย สำเนาทะเบียนบ้านที่ประสงค์จะนำเด็กเพิ่มชื่อเข้า [หน้าแรกระบุเลขที่บ้าน และหน้าที่ระบุชื่อบิดา])
    4. บัตรแสดงถิ่นที่อยู่ในสิงค์โปร์ เช่น บัตรประชาชนสิงคโปร์ บัตรพำนักในสิงคโปร์ บัตรทำงาน ฯลฯ
    5. ทะเบียนสมรส (หากมี)
  1. เอกสารเพิ่มเติมของบิดาสัญชาติไทยกับมารดาซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่น กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส
         1.  หลักฐานการตรวจสารพันธุกรรม (DNA) หรือหลักฐานการตรวจทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าบิดาและผู้เกิดเป็นบิดาและบุตรกัน (หากเอกสารออกในสิงคโปร์ จะต้องผ่านการรับรอง (Authentication) จากNotary Public และ Singapore Academy of Law ก่อน)
          2. แบบคําขอพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด คลิกที่นี่
          3. รูปถ่ายขนาด 4x6 ซม. ของบุตรและบิดา คนละ 2 รูป
          4. ค่าธรรมเนียมการออกเอกสารพิสูจน์ความเป็นบิดา 2 ดอลลาร์สิงคโปร์

หมายเหตุ: เอกสารดังกล่าวในข้อ 2-5 ที่ออกโดยต่างประเทศจะต้องได้รับการรับรองเอกสารก่อนนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

การรับรองเอกสารก่อนนำมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ 

  • ในกรณีที่บิดาหรือมารดาเป็นคนสัญชาติสิงคโปร์
    • สูติบัตรสิงคโปร์ของผู้เยาว์
    • หนังสือเดินทางสิงคโปร์ของบิดาหรือมารดา และของผู้เยาว์ 
    • บัตรประชาชนสิงคโปร์ของบิดาหรือมารดา
    • บัตรถิ่นพำนักในสิงคโปร์ของบิดาหรือมารดา 
    • ทะเบียนสมรสสิงคโปร์
    • รับรองโดยทนายความสิงคโปร์ (Notary Public)  
      1. เอกสารที่ให้ทนายความรับรองสามารถเย็บรวมเป็น 1 ชุด (Corner Binding) 
      2. นำเอกสารไปรับรองอีกครั้งที่ Singapore Academy of Law 
      3. เมื่อได้มาแล้วให้ถ่ายเอกสารเพิ่มให้สถานเอกอัครราชทูตฯ อีก 1 ชุด 
      4. สำหรับค่าธรรมเนียมการรับรองความถูกต้องของเอกสารดังกล่าวโดยทนายความสิงคโปร์ ให้สอบถามกับทนายความที่ไปรับรองในวันที่มายื่นคำร้องขอสูติบัตร 
      5. สถานเอกอัครราชทูตฯ จะดำเนินการรับรองลายมือชื่อของ Singapore Academy of Law นั้น โดยมีค่าธรรมเนียมชุดละ 30 ดอลลาร์สิงคโปร์
    • รับรองโดย Singapore Academy of Law (SAL) 
      • ตัวอย่างเช่น เอกสารมี 5 แผ่น ค่าธรรมเนียมคือ 150 ดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นต้น
      1. ไม่สามารถเย็บรวมเป็นชุดเดียวได้ 
      2. ต้องรับรองเอกสารดังกล่าวในข้อ 1 แยกเป็นแผ่น ซึ่งค่าธรรมเนียมการรับรองความถูกต้องเอกสารดังกล่าวจะถูกคิดโดย Singapore Academy of Law 
      3. เมื่อได้มาแล้ว ให้ถ่ายเอกสารเพิ่มเพื่อเป็นหลักฐานไว้กับสถานเอกอัครราชทูตฯ อีก 1 ชุด 
      4. เนื่องจาก SAL ไม่สามารถเย็บรวมเอกสารได้แบบทนายความสิงคโปร์ (Notary Public) ในวันที่มายื่นคำร้องขอสูติบัตร สถานเอกอัครราชทูตฯ จะคิดค่าธรรมเนียมเอกสารหลังการรับรองจาก SAL ต่อแผ่น แผ่นละ 30 ดอลลาร์สิงคโปร์ 
    • หนังสือเดินทางไทยของบิดาหรือมารดา
    • บัตรประจำตัวประชนชนไทยของบิดาหรือมารดา
    • สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบิดาหรือมารดา 
    • ทะเบียนสมรสไทย (หากมี)                 
    • เอกสารที่ออกโดยรัฐบาลสิงคโปร์จะต้องนำไปรับรองความถูกต้องจากรัฐบาลสิงคโปร์ก่อน โดยเอกสารที่ต้องนำไปรับรอง มีดังนี้ 
    •  สามารถเลือกรับรองได้ 2 แบบ ดังนี้
    • เอกสารที่เป็นของทางการไทยให้ยื่นเอกสารตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด ดังนี้ 

 ระยะเวลาการดำเนินการออกสูติบัตรใช้เวลา 1 สัปดาห์

หมายเหตุ : บิดาหรือมารดาสัญชาติสิงคโปร์ ซึ่งบุตรมีสัญชาติสิงคโปร์ด้วย ถ้าต้องการทำสัญชาติไทยให้บุตร เพื่อเป็นบุคคล 2 สัญชาติไทย-สิงคโปร์ หากเป็นบุตรชาย จะต้องเกณฑ์ทหาร 2 ประเทศ และเมื่ออายุบรรลุนิติภาวะ สิงคโปร์จะไม่อนุญาตให้ถือ 2 สัญชาติ บุคคลที่มี 2 สัญชาติ ไทย-สิงคโปร์ทั้งชายและหญิงจะต้องเลือกสัญชาติใดสัญชาตินึง โปรดศึกษาข้อมูลสิทธิและหน้าที่ของการถือ 2 สัญชาติก่อนจะดำเนินการขอสัญชาติไทยให้บุตร เนื่องจากหากได้สัญชาติไทยแล้ว จะไม่สามารถขอยกเลิกก่อนบรรลุนิติภาวะได้

  • ในกรณีที่บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างชาติที่ไม่ใช่สัญชาติสิงคโปร์
    • หนังสือเดินทางต่างชาติของบิดาหรือมารดา/ผู้เยาว์ ตัวอย่างเช่น บิดาสัญชาติเยอรมนี หนังสือเดินทางเยอรมนีของบิดาจะต้องให้สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีในสิงคโปร์รับรองความถูกต้อง เป็นต้น
    • ทะเบียนสมรสที่ไม่ใช่ของสิงคโปร์และไม่ใช่ของไทย โดยหากไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ต้องจัดทำคำแปลภาษาที่สามตามระเบียบของกระทรวงต่างประเทศ 
    • เอกสารราชการของประเทศอื่นที่ไม่ใช่สิงคโปร์และไม่ใช่ของไทยจะต้องให้สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือ สถานกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศสิงคโปร์ รับรองความถูกต้องก่อน ดังนี้ 
    • หมายเหตุ: หากบิดาหรือมารดาถือสัญชาติต่อไปนี้ ให้ทำตามขั้นตอนนี้
    • บิดาหรือมารดาสัญชาติญี่ปุ่น: การรับรองความถูกต้องหนังสือเดินทางบิดาญี่ปุ่น สามารถทำได้ดังนี้  
      • อีเมล์เพื่อนัดหมายการเข้าไปขอสูติบัตรของบิดาที่ระบุถึงหนังสือเดินทางของบิดาที่อีเมล์ [email protected] โดยระบุว่า ต้องการเอกสาร “Birth Certificate which especially indicates current passport number” หรือ “Certificate which indicates passport number” พร้อมแจ้งว่าจะนำเอกสารนี้ไปใช้กับสถานเอกอัครราชทูตไทย
      • หลังจากนั้นให้นำสำเนาหนังสือเดินทางของบิดาพร้อมกับสูติบัตรของบิดา (ที่ระบุเลขหนังสือเดินทางของบิดา) ที่ได้รับจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นในสิงคโปร์มารวมกันไว้เป็น 2 แผ่น โดยถือว่าเอกสาร 2 แผ่นนี้คือ หนังสือเดินทางญี่ปุ่นของบิดาที่ได้รับการรับรองความถูกต้องโดยสถานทูตญี่ปุ่นในสิงคโปร์แล้ว 
      • หากมีข้อสงสัยในขั้นตอนนี้ สามารถสอบถามได้ที่อีเมล์ : [email protected] 
      • บิดาหรือมารดาสัญชาติบริติช (สหราชอาณาจักรฯ): สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรในสิงคโปร์ไม่รับรองความถูกต้องของเอกสาร ดังนั้น สามารถดำเนินการรับรองเอกสารได้เหมือนในกรณีที่บิดาสัญชาติสิงคโปร์
      • บิดาหรือมารดาสัญชาติอินโดนีเซีย : หากไม่ได้ทำหนังสือเดินทางอินโดนีเซียที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในสิงคโปร์ สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในสิงคโปร์ไม่รับรองความถูกต้องของเอกสาร ดังนั้น สามารถดำเนินการรับรองเอกสารได้เหมือนในกรณีที่บิดาสัญชาติสิงคโปร์  
    • หลังจากที่รับรองเอกสารผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือ สถานกงสุลของประเทศนั้นๆ แล้ว ให้นำเอกสารดังกล่าวมารวมกับเอกสารราชการของสิงคโปร์เป็นชุดเดียว ดังนี้ 
      • สูติบัตรสิงคโปร์ของผู้เยาว์
      • บัตรถิ่นพำนักในสิงคโปร์ของบิดาและมารดา
      • ทะเบียนสมรสสิงคโปร์ รวมกับ หนังสือเดินทางต่างชาติของบิดาหรือมารดา/ผู้เยาว์
      • ทะเบียนสมรสที่ไม่ใช่ของสิงคโปร์ และของไทยที่ผ่านการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือ สถานกงสุลของประเทศนั้นๆแล้ว 
    •  ให้นำเอกสารทั้งหมดดำเนินการต่อไปดังนี้ 
      • รับรองโดยทนายความสิงคโปร์(Notary Public) เอกสารที่ให้ทนายความรับรองสามารถเย็บรวมเป็น 1 ชุด (Corner binding)
      • รับรองอีกครั้งที่ Singapore Academy of Law 
      • เมื่อได้มาแล้ว ให้ถ่ายเอกสารเพิ่มให้สถานทูตอีก 1 ชุด ซึ่งค่าธรรมเนียมการรับรองความถูกต้องเอกสารดังกล่าวโดยทนายความสิงคโปร์ให้สอบถามกับทนายความที่ไปรับรอง 
      • ในวันที่มายื่นคำร้องขอสูติบัตร สถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการรับรองจากทนายความสิงคโปร์ 1 ชุด ค่าธรรมเนียม 30 ดอลลาร์สิงคโปร์
    •  เอกสารที่เป็นของทางการไทยให้ยื่นเอกสารตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด ดังนี้ 
      • หนังสือเดินทางไทยของบิดาหรือมารดา
      • บัตรประจำตัวประชนชนไทยของบิดาหรือมารดา
      • สำเนาทะเบียนบ้านไทยของบิดาหรือมารดา (อนุโลมทะเบียนบ้านเป็นสำเนาได้)
      • ทะเบียนสมรสไทย                      

 ระยะเวลาการดำเนินการออกสูติบัตรใช้เวลา 1 สัปดาห์
หมายเหตุ : บิดาหรือมารดาเป็นบุคคลต่างชาติที่ไม่ใช่สิงคโปร์ โปรดศึกษาข้อมูลสิทธิและหน้าที่ของการถือ 2 สัญชาติของประเทศนั้นๆ ก่อนจะดำเนินการขอสัญชาติไทยให้บุตร

การยื่นคำร้อง

ข้อควรทราบ

  • สูติบัตรเป็นเอกสารสำคัญ โปรดอย่าทำหาย จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานประกอบขอแจ้งชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านต่อนานทะเบียนท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่บุตรได้เดินทางถึงประเทศไทย และใช้ประกอบคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเมื่อบุตรมีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ 
  • กรณีสูติบัตรหาย ให้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น และขอคัดสำเนาสูติบัตรได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือที่สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • นามสกุลของบุตรจะต้องใช้นามสกุลของบิดา หรือของมารดา เท่านั้น ไม่สามารถใช้นามสกุลผู้อื่น หรือควบรวมนามสกุลบิดาและมารดาไม่ได้
  • ในกรณีบิดา และมารดาประสงค์ให้บุตรใช้นามสกุลของมารดา โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน ทั้งนี้ บุตรสามารถใช้นามสกุลมารดาได้ (ป.พ.บ. มาตรา 1561 ไม่ได้บังคับว่าบุตรต้องใช้นามสกุลบิดา ตามคำพิพากษาฎีกา ที่ 1283/2522)

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่

  • เบอร์ 67372158 ต่อ 664 หรือ 620 
    • เวลา 16.00-17.30 ในวันจันทร์, อังคาร, พุธ, พฤหัสบดี (เฉพาะโทรสอบถาม ไม่ใช่เวลารับคำร้อง) 

อีเมล์: [email protected]